ต้นกำเนิด “พลาสติก”
คุณรู้หรือไม่ว่า พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้น ถูกผลิตขึ้นมาร้อยกว่าปีแล้ว หากเราต้องย้อนกลับไปศึกษาประวัติการสังเคราะห์ของพลาสติกชนิดแรกของโลกนั้น คือบริษัทที่ผลิตลูกบิลเลียด ซึ่งในปี ค.ศ. 1863 นั้น กีฬาบิลเลียดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในตอนนั้น บริษัทผู้ผลิตลูกบิลเลียดที่ตั้งอยู่ ณ.ประเทศสหรัฐอเมริก ได้ทำการประกาศให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถหาวัสดุมาผลิตลูกบิลเลียด แทนวัสดุงาช้างได้ เป็นเงินรางวัลมีมูลค่าถึง 10,000 เหรียญสหรัฐ เพราะในช่วงนั้นมีการรณรงค์ห้ามล่าช้างป่าเพื่อนำงามาใช้งาน จากนั้นมีช่างไม้คนหนึ่งคือ นายจอห์น เวสลีย์ ไฮเอตต์ มีความพยายามที่จะค้นคว้าหาวัสดุ ที่จะนำมาชดใช้แทนงาช้าง จึงทำการทดลองประดิษฐ์ลูกบิลเลียดอยู่หลายปี จนมาถึงคืนหนึ่ง ขณะที่เขากำลังทำการผสมขี้เลี่อยกับกาว แล้วให้ทำให้เขาได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม จากนั้นเขาจึงนำคอลอเดียน ซึ่งเป็นยาสมานแผลในสมัยนั้น ซึ่งทำมาจากไนโตรเซลลูโลส ซึ่งละลายอยู่ในอีเธอร์และแอลกอฮอล์ แต่ด้วยความบังเอิญ หรือเป็นโชคชะตาของเขาก็ไม่ทราบได้ เขาได้ทำน้ำยานั้น หกลงบนพื้นโต๊ะ เมื่อเขาทิ้งรอยหกนี้ไว้สักพัก แล้วกลับมาบังเอิญที่เห็นยาที่แห้งนั้น เป็นแผ่นเหนียว ๆ
จากนั้นนายไฮเอตต์ จึงทำการทดสอบต่อลองเติมการบูรลงไปผสมอีเทอร์ จะได้เกิดออกมาเป็นวัสดุหนึ่งชิ้น ซึ่งต่อมาวัสดุชิ้นนี้ถูกเรียกว่า “เซลลูลอยด์” จึงทำให้ค้นพบได้ว่า เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติที่จะใช้ผลิตลูกบิลเลียด อีกทั้งยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกด้วย เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่อน้ำและกรด อีกทั้งยังทนต่อน้ำมันด้วย และยังสามารถทำให้เป็นสีสันได้อย่างง่ายดาย และที่สำคัญมีราคาที่ถูก และต่อมาได้นิยมนำมาทำคีย์เปียโนแทนงาช้าง และหวี ซึ่งหวีในสมัยนั้นจะทำมาจากกระดองสัตว์ จนเป็นที่นิยมนำมาประยุกต์ทำสิ่งของเครื่องประดับต่าง ๆ อาทิเช่น กระดุม ของเล่นเด็ก ขวดพลาสติกราคาถูก และแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ จะถึงได้ว่า เซลลูลอยด์นั้น เป็นพลาสติกสังเคาะห์ชนิดแรกของโลกเลยก็ว่าได้ แต่เนื่องจากเซลลูลอยส์ มีข้อเสียที่ว่า เป็นพลาสติกที่ติดไฟง่าย และสามารถระเบิดได้หากมีหมู่ไนโตรเป็นปริมาณที่สูง ในเวลาต่อมาจึงไม่เป็นที่นิยม ซึ่งในปัจจุบันเราจึงหาได้ยาก วัสดุที่ทำจากเซลลูลอยส์ ที่เห็นอยู่ก็จะเป็นพวก ลูกปิงปอง เนื่องจากสิ่งของที่ทำจากวัสดุเซลลูลอยส์ในปัจจุบันนั้นหายากมากแล้ว จนทำให้นักสะสมของเก่า หันมาสะสมสิ่งของที่ทำจากวัสดุเซลลูลอยส์กัน เพราะเป็นของหายากในปัจจุบัน
ต่อมามีนักเคมีชื่อ นายลีโอ เบคแลนด์ ทำการค้นพบวิธีการผลิตเบคเคอไลต์ ได้ค้นพบพลาสติกสังเคราะห์จากสารอินทรีย์โมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการทำปฎิกิริยาระหว่าง ฟอร์มัลดีไฮด์และฟีนอล เบคเคอไลต์ จะทำให้เป็นพลาสติกที่แข็ง อีกทั้งยังทนความร้อนได้ดีอีกด้วย จึงสามารถนำมาขึ้นรูปแบบต่าง ๆ ตามแม่พิมพ์โดยใช้ความร้อนได้ อาทิเช่น ขวดพลาสติกราคาถูก อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่แพง แต่ในช่วงแรก ๆ นั้นเบเคอไลต์ ได้ถูกนำมาทำเป็นฉนวลในการเคลือบสายไฟ เนื่องจากสามารถทนความร้อนได้สูง และยังถูกนำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย